“ก.เอ๋ย ก.ไก่ ข.ไข่ในเล้า ฃ.ฃวดของเรา ค.ควายเข้านา... ฮ.นกฮูกตาโต” ถ้าเราย้อนเวลากลับไปในช่วงที่เราเริ่มต้นชีวิตวัยประถม การท่องอักษรไทยทั้ง 44 ตัวนี้เป็นสิ่งที่แทบจะเรียกได้ว่าเป็นกิจวัตรเลยก็ว่าได้ แต่เคยสงสัยกันมั้ยครับว่าทำไมปัจจุบันนี้เราเหลือใช้กันเพียง 42 ตัว พอจะนึกออกมั้ยครับสองตัวอักษรที่หายไปคืออะไร...มันคือ ฃ.ขวด กับ ฅ.คน ไงครับ เท่าที่ผมทราบเนี่ย สาเหตุของการหายตัวไปของสองตัวอักษรนี้ เป็นเพราะเครื่องพิมพ์ดีดไม่มีที่ว่างเพียงพอสำหรับอักษรไทย สระและพยัญชนะทั้งหมด และด้วยความที่ ฃ.ขวด และ ฅ.คน มีการออกเสียงคล้าย ข.ไข่ และ ค.ควาย สองตัวอักษรนี้ต้องกลายเป็นอักษรผู้เสียสละไป แต่เท่าที่ผมทราบ นักภาษาศาสตร์ได้ให้ข้อมูลว่า ฃ.ขวด และ ฅ.คน นี้ ไม่ได้ออกเสียงเหมือน ข.ไข่ และ ค.ควายเสียทีเดียว เพราะจะมีการสั่นของลำคอมากกว่า
แต่พักหลังๆ นี้ ผมเริ่มมาสังเกตว่า ไม่ใช่เพียง ฃ.ขวด และ ฅ.คน เท่านั้นที่หายไป เพราะตัวอักษรตัวที่ 35 ซึ่งก็คือ ร.เรือ ก็เริ่มหายไปจากภาษาไทยแล้วเหมือนกัน โดยการถูกแทนที่ด้วย ล.ลิง ผมต้องบอกไว้ก่อนเลยครับว่า ผมเองก็ไม่ใช่คนที่พูดภาษาไทยชัดเจนทุกคำ แต่ถ้าเป็นไปได้ผมมักจะเตือนสติตัวเองเสมอว่า ถ้าจะพูดก็พูดให้มันถูกสักหน่อย
ผมพอเข้าใจครับว่าการออกเสียง ร.เรือ ที่ต้องออกเสียงมาตั้งแต่ในลำคอนั้น ใช้พลังงานมากกว่าการออกเสียง ล.ลิง ซึ่งทำได้ง่าย เพียงแค่กระดกปลายลิ้น และผู้ฟังก็สามารถเข้าใจความหมายของคำได้โดยไม่มีปัญหาอะไร แต่ผมก็อดเสียดายแทนพ่อขุนรามคำแหงผู้ทรงคิดค้นและประดิษฐ์อักษรไทยไม่ได้ ที่คุณค่าและความงดงามของภาษากำลังเลือนหายไปเรื่อยๆ และที่น่าเสียดายที่สุดคือบรรดาสื่อมวลชนที่คนทั้งประเทศจับตามอง รวมถึงคนของประชาชนหลายๆ ท่าน ก็ลืมไปเสียแล้วว่าเรามี ร.เรือ ในภาษาไทยของเราด้วย ทั้งๆ ที่บางท่านมี ร.เรือ อยู่ในชื่อตัวเองแท้ๆ
มีอยู่ครั้งหนึ่ง ผมเรียนวิชา Language and society ที่มหาวิทยาลัย แล้วอาจารย์ผู้สอนชาวอเมริกันท่านเคยถามในห้องเรียนว่าทำไมคนไทยใช้ ตัว L (ล.ลิง) แทน R (ร.เรือ) ซึ่งถ้าเป็นภาษาอังกฤษ การสลับที่ของสองตัวอักษรนี้ ทำให้ความหมายของคำผิดไปโดยสิ้นเชิง คำถามของอาจารย์ท่านนี้ได้ใจผมมาก เพราะมันทำให้ผมรู้สึกว่าทำไมเจ้าของภาษาไม่รู้สึกแยแสอะไรกับสิ่งที่ตนเองเป็นเจ้าของ ในขณะที่คนต่างชาติเขาสงสัยในภาษาที่เขาพูดได้น้อยนิด
คงยังไม่สายถ้าหากเราลองตั้งสติพูดและออกเสียงภาษาไทยให้ถูกต้อง เพราะผมเชื่อครับว่าคนไทยทุกคนสามารถทำได้เพราะเราทุกคนเกิดมากับมันและได้รับการเรียนรู้และฝึกฝนมาตั้งแต่เด็ก เพียงแต่โดนความขี้เกียจเข้าครอบงำเท่านั้นเอง รีบกันเสียก่อนที่จะไม่เหลือภาษาไทยให้อนุรักษ์กันเถอะครับ ก่อนจบผมไปเจอกลอนบทหนึ่งเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยซึ่งเรียบเรียงโดยครูพิม จากเวบ http://www.thaipoem.com/ มาให้อ่านกันเพื่อเป็นการเตือนใจถึงทรัพย์สมบัติทางภาษาที่เรามีครับ
ภาษาไทยงดงามด้วยน้ำเสียง
ถ้อยเรียบเรียงหวานหูไม่รู้หาย
สื่อความคิดสื่อความรู้สื่อแทนกาย
สื่อความหมายด้วยภาษาน่าชื่นชม
เกิดเป็นไทยภาษาไทยเขียนให้คล่อง
กฎเกณฑ์ต้องรู้ใช้ให้เหมาะสม
จะพูดจาน่าฟังทั้งนิยม
เจ้าคารมเขาจะหมิ่นจนสิ้นอาย
ภาษาพูดสนทนาพูดจาทัก
เป็นสื่อรักสื่อสัมพันธ์ความมั่นหมาย
แม้นพูดดีมีคนรักมักสบาย
แต่พูดร้ายส่อเสียดคนเกลียดกัน
วัฒนธรรมล้ำค่าภาษาสวย
ทุกคนช่วยออกเสียง “ร” ขอสร้างสรรค์
แม้นออกเสียง เป็น “ล” เขาล้อกัน
คนจะหยันชาติเราไม่เข้าที
สระ “เอือ เป็น “เอีย” ฟังเพลียนัก
บอกที่รัก ช่วยซื้อ “เกีย”..ที่ร้านนี่
ขอ “ซมเซย” จะเชยแท้ แม้พาที
วอนน้องพี่ต้องช่วยกันจรรโลงไทย
ผมได้เลิกแต่งงานในวันนี้
เป็นเลิกดีเลิกงามยามสดใส
ออกเสียงฤกษ์ เป็นเลิก ครั้งคราใด
คงทำให้สื่อสารผิด..คิดเสียดาย
ภาษาไทยงดงามด้วยความคิด
แม้นอ่านผิดก็เขียนผิด..คงเสียหาย
เขียนอ่านไทยให้ถูกด้วยช่วยผ่อนคลาย
สื่อทั้งหลาย..ต้องช่วยกัน..นั้นอีกแรง
แต่พักหลังๆ นี้ ผมเริ่มมาสังเกตว่า ไม่ใช่เพียง ฃ.ขวด และ ฅ.คน เท่านั้นที่หายไป เพราะตัวอักษรตัวที่ 35 ซึ่งก็คือ ร.เรือ ก็เริ่มหายไปจากภาษาไทยแล้วเหมือนกัน โดยการถูกแทนที่ด้วย ล.ลิง ผมต้องบอกไว้ก่อนเลยครับว่า ผมเองก็ไม่ใช่คนที่พูดภาษาไทยชัดเจนทุกคำ แต่ถ้าเป็นไปได้ผมมักจะเตือนสติตัวเองเสมอว่า ถ้าจะพูดก็พูดให้มันถูกสักหน่อย
ผมพอเข้าใจครับว่าการออกเสียง ร.เรือ ที่ต้องออกเสียงมาตั้งแต่ในลำคอนั้น ใช้พลังงานมากกว่าการออกเสียง ล.ลิง ซึ่งทำได้ง่าย เพียงแค่กระดกปลายลิ้น และผู้ฟังก็สามารถเข้าใจความหมายของคำได้โดยไม่มีปัญหาอะไร แต่ผมก็อดเสียดายแทนพ่อขุนรามคำแหงผู้ทรงคิดค้นและประดิษฐ์อักษรไทยไม่ได้ ที่คุณค่าและความงดงามของภาษากำลังเลือนหายไปเรื่อยๆ และที่น่าเสียดายที่สุดคือบรรดาสื่อมวลชนที่คนทั้งประเทศจับตามอง รวมถึงคนของประชาชนหลายๆ ท่าน ก็ลืมไปเสียแล้วว่าเรามี ร.เรือ ในภาษาไทยของเราด้วย ทั้งๆ ที่บางท่านมี ร.เรือ อยู่ในชื่อตัวเองแท้ๆ
มีอยู่ครั้งหนึ่ง ผมเรียนวิชา Language and society ที่มหาวิทยาลัย แล้วอาจารย์ผู้สอนชาวอเมริกันท่านเคยถามในห้องเรียนว่าทำไมคนไทยใช้ ตัว L (ล.ลิง) แทน R (ร.เรือ) ซึ่งถ้าเป็นภาษาอังกฤษ การสลับที่ของสองตัวอักษรนี้ ทำให้ความหมายของคำผิดไปโดยสิ้นเชิง คำถามของอาจารย์ท่านนี้ได้ใจผมมาก เพราะมันทำให้ผมรู้สึกว่าทำไมเจ้าของภาษาไม่รู้สึกแยแสอะไรกับสิ่งที่ตนเองเป็นเจ้าของ ในขณะที่คนต่างชาติเขาสงสัยในภาษาที่เขาพูดได้น้อยนิด
คงยังไม่สายถ้าหากเราลองตั้งสติพูดและออกเสียงภาษาไทยให้ถูกต้อง เพราะผมเชื่อครับว่าคนไทยทุกคนสามารถทำได้เพราะเราทุกคนเกิดมากับมันและได้รับการเรียนรู้และฝึกฝนมาตั้งแต่เด็ก เพียงแต่โดนความขี้เกียจเข้าครอบงำเท่านั้นเอง รีบกันเสียก่อนที่จะไม่เหลือภาษาไทยให้อนุรักษ์กันเถอะครับ ก่อนจบผมไปเจอกลอนบทหนึ่งเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยซึ่งเรียบเรียงโดยครูพิม จากเวบ http://www.thaipoem.com/ มาให้อ่านกันเพื่อเป็นการเตือนใจถึงทรัพย์สมบัติทางภาษาที่เรามีครับ
ภาษาไทยงดงามด้วยน้ำเสียง
ถ้อยเรียบเรียงหวานหูไม่รู้หาย
สื่อความคิดสื่อความรู้สื่อแทนกาย
สื่อความหมายด้วยภาษาน่าชื่นชม
เกิดเป็นไทยภาษาไทยเขียนให้คล่อง
กฎเกณฑ์ต้องรู้ใช้ให้เหมาะสม
จะพูดจาน่าฟังทั้งนิยม
เจ้าคารมเขาจะหมิ่นจนสิ้นอาย
ภาษาพูดสนทนาพูดจาทัก
เป็นสื่อรักสื่อสัมพันธ์ความมั่นหมาย
แม้นพูดดีมีคนรักมักสบาย
แต่พูดร้ายส่อเสียดคนเกลียดกัน
วัฒนธรรมล้ำค่าภาษาสวย
ทุกคนช่วยออกเสียง “ร” ขอสร้างสรรค์
แม้นออกเสียง เป็น “ล” เขาล้อกัน
คนจะหยันชาติเราไม่เข้าที
สระ “เอือ เป็น “เอีย” ฟังเพลียนัก
บอกที่รัก ช่วยซื้อ “เกีย”..ที่ร้านนี่
ขอ “ซมเซย” จะเชยแท้ แม้พาที
วอนน้องพี่ต้องช่วยกันจรรโลงไทย
ผมได้เลิกแต่งงานในวันนี้
เป็นเลิกดีเลิกงามยามสดใส
ออกเสียงฤกษ์ เป็นเลิก ครั้งคราใด
คงทำให้สื่อสารผิด..คิดเสียดาย
ภาษาไทยงดงามด้วยความคิด
แม้นอ่านผิดก็เขียนผิด..คงเสียหาย
เขียนอ่านไทยให้ถูกด้วยช่วยผ่อนคลาย
สื่อทั้งหลาย..ต้องช่วยกัน..นั้นอีกแรง
5 comments:
ไปเอา poem มาจากไหนอ่ะ....เราว่าพวกเราก็พูดไม่ค่อยมี ร เรือกันนะ เพราะแกแหละ...
อย่ามาเพราะแกแถวนี้เลย โบ้ยกันเห็นๆ
ท้าให้มานับพิสูจน์ ร.เรือของเราเลย มาเลยๆ
อย่ามาท้านะ อย่ามาท้านะคะ
ไปท้าผู้ประกาศข่าวดีกว่า......
ท้าพิธีกร กับนักแสดงด้วยเลยสิ
ท้าๆๆๆ
อ้าวๆๆ..ตีกันซะแระ..
Post a Comment