สำนวนโบราณที่ว่า “ยิ่งสูงยิ่งหนาว” นี้เป็นเบสิกที่วัยเราๆ รู้กันอยู่แล้ว ไม่อย่างนั้นหน้าหนาวเราจะดั้นด้นขึ้นเหนือ ปีนดอย ไต่เขากันไปทำไม ถ้าไม่ใช่เป็นเพราะไปสัมผัสความหนาวใช่มั้ยครับ และด้วยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เขาก็ได้มีการศึกษาเอาไว้ว่า อุณหภูมิจะลดลง 2°C ทุกๆ ความสูง 1,000 ฟุต คิดดูก็แล้วกันครับว่าเครื่องบินที่เราโดยสารกันทุกวันนี้บินอยู่ที่ระดับความสูง 35,000 ฟุต ข้างนอกมันจะหนาวสะท้านสักแค่ไหน
นอกเหนือจากอุณหภูมิที่ลดลงไปเรื่อยๆ ตามลำดับความสูงแล้ว ค่าความกดดันอากาศข้างบนนั้นก็ลดน้อยอีกเช่นกัน น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของที่เราสัมผัสได้บนพื้นดินเชียวล่ะ เมื่อความกดอากาศต่ำ สิ่งที่ตามมาก็คือความหนาแน่นของอากาศสำหรับหายใจก็จะน้อยลงตามไปด้วยตามธรรมชาติ
โดยปกติแล้ว อากาศที่เราทุกคนสูดเข้าไปนั้น ประกอบด้วยก๊าซหลักๆ อยู่สองอย่างคือ ออกซิเจน 21% และ ไนโตรเจนอีก 78% ที่เหลือก็เป็นก๊าซอื่นๆ ซึ่งเป็นส่วนเติมเต็มให้ครบร้อย นับว่าเป็นความโชคดีของเราที่วิทยาศาสตร์อันก้าวหน้านี้ทำให้เราไม่ต้องไปเผชิญกับความกดอากาศต่ำที่ว่านี้ได้ เนื่องจากในห้องโดยสารเครื่องบินที่เรานั่งกันนั้น เขาปรับระดับความดันเอาไว้ที่ความสูงประมาณ 6,000-8,000 ฟุต อาจจะมีบ้างที่เกิดอาการหูอื้อ แต่นั่นนับว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น ถ้าหากว่าห้องโดยสารไม่ได้ปรับระดับความดันอากาศ
เมื่อวันอังคารที่ 24 ก.ค. 50 ผมได้ศึกษาเรื่องความดันอากาศ ที่สถาบันเวชศาสตร์การบิน และได้สัมผัสถึงภาวะของร่างกายตัวเองเมื่อเจอกับความกดอากาศต่ำโดยเข้าไปใน chamber เจ้า chamber ที่ว่านี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า hypobaric chamber ซึ่งมีไว้สำหรับจำลองสถานการณ์ที่ความกดอากาศต่ำ หน้าตาของเจ้า chamber ที่ว่านี้ก็เป็นแบบนี้นะครับ
นอกเหนือจากอุณหภูมิที่ลดลงไปเรื่อยๆ ตามลำดับความสูงแล้ว ค่าความกดดันอากาศข้างบนนั้นก็ลดน้อยอีกเช่นกัน น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของที่เราสัมผัสได้บนพื้นดินเชียวล่ะ เมื่อความกดอากาศต่ำ สิ่งที่ตามมาก็คือความหนาแน่นของอากาศสำหรับหายใจก็จะน้อยลงตามไปด้วยตามธรรมชาติ
โดยปกติแล้ว อากาศที่เราทุกคนสูดเข้าไปนั้น ประกอบด้วยก๊าซหลักๆ อยู่สองอย่างคือ ออกซิเจน 21% และ ไนโตรเจนอีก 78% ที่เหลือก็เป็นก๊าซอื่นๆ ซึ่งเป็นส่วนเติมเต็มให้ครบร้อย นับว่าเป็นความโชคดีของเราที่วิทยาศาสตร์อันก้าวหน้านี้ทำให้เราไม่ต้องไปเผชิญกับความกดอากาศต่ำที่ว่านี้ได้ เนื่องจากในห้องโดยสารเครื่องบินที่เรานั่งกันนั้น เขาปรับระดับความดันเอาไว้ที่ความสูงประมาณ 6,000-8,000 ฟุต อาจจะมีบ้างที่เกิดอาการหูอื้อ แต่นั่นนับว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น ถ้าหากว่าห้องโดยสารไม่ได้ปรับระดับความดันอากาศ
เมื่อวันอังคารที่ 24 ก.ค. 50 ผมได้ศึกษาเรื่องความดันอากาศ ที่สถาบันเวชศาสตร์การบิน และได้สัมผัสถึงภาวะของร่างกายตัวเองเมื่อเจอกับความกดอากาศต่ำโดยเข้าไปใน chamber เจ้า chamber ที่ว่านี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า hypobaric chamber ซึ่งมีไว้สำหรับจำลองสถานการณ์ที่ความกดอากาศต่ำ หน้าตาของเจ้า chamber ที่ว่านี้ก็เป็นแบบนี้นะครับ
ภาพนี้เป็นภาพที่ผมหามาจากอินเตอร์เน็ต พอดีวันที่เข้า chamber เขาไม่ให้พกอะไรเข้าไปข้างใน เพราะว่าอาจเสียได้ ขนาดนาฬิกาข้อมือยังเสียได้เลย เราก็เลยไปหารูปมาจากบนอินเตอร์เน็ตแทน ซึ่งก็ใกล้เคียงไม่น้อย
อุปกรณ์ที่ทางสถานบันเวชศาสตร์จัดให้ก็คือ หมวกนิรภัย กับหน้ากากออกซิเจน ที่มองดูแล้วก็ไม่ได้แตกต่างอะไรกับนักบินเครื่องบินรบ F16 เขาใส่กันเลยล่ะ เพียงแต่ว่าหมวกที่ผมใส่เป็นสีเทาแค่นั้นเอง
เมื่อเข้าไปแล้วก็นั่งประจำที่ โดยใน chamber นี้จะมีลูกโป่งแขวนไว้สองลูก เอาไว้ให้สังเกตการขยายตัวของก๊าซเมื่อความกดอากาศต่ำลง การผจญภัยเริ่มจากการปรับความอันอากาศไปที่ระดับความสูง 5,000 ฟุต ตอนนี้สิ่งที่ทุกคนรู้สึกก็คืออาการหูอื้อ ซึ่งก็กลืนน้ำลาย ขยับกราม อ้าปากหาว แก้หูอื้อกันไปทั่วหน้า และอีกไม่นานก็ไต่ระดับความสูงไปที่ 10,000 ฟุต ซึ่งเมื่อมาถึงจุดนี้ จะมีหน้ากากออกซิเจนฉุกเฉินที่หน้าตาเหมือนกับในเครื่องเป๊ะๆ ร่วงมาจากเพดาน เป็นการจำลองเหตุการณ์ฉุกเฉินบนเครื่องบินเอาไว้
เมื่อเรียนรู้การใช้หน้ากากออกซิเจนกันไปแล้ว คราวนี้ก็เปลี่ยนกลับมาใส่หน้ากากนักบิน และทะยานขึ้นสู่ระดับความสูงที่ 25,000ฟุต (ด้วยการปรับความดันอากาศนะครับ ไม่ได้บินจริง) เมื่อไปถึงระดับที่ต้องการแล้วก็ทำการปลดหน้ากากออกซิเจนออก เหตุผลที่ให้ปลดหน้ากากนี้ก็เพื่อเป็นการรับรู้ถึง Hypoxia หรือ ภาวะร่างกายพร่องออกซิเจน
Hypoxia นี้มีอยู่ทั้งหมดสี่ประเภท แต่ว่าจะขอกล่าวถึงประเภทเดียวที่สามารถเจอบ่อยบนเครื่องบิน นั่นก็คือ Hypoxic Hypoxia หรือว่า Altitude Hypoxia ซึ่งเกิดจากการที่ความดันอากาศในถุงลมลดลงเมื่ออยู่ในที่ความกดอากาศต่ำ ทำให้ระบบออกซิเจนทำงานผิดพลาด
กลับมาใน chamber ที่นักผจญภัยกำลังสัมผัสกับภาวะพร่องออกซิเจนกันต่อ ก่อนหน้าที่จะปลดหน้ากาก นักเรียนทุกคนจะได้รับข้อสอบคนละหนึ่งแผ่น เป็นการให้ผู้ทดสอบใช้สมองคำนวนเลขอะไรทำนองนั้น แต่ก่อนจะปลดหน้ากากครูฝึกก็ให้เขียนชื่อกับรายละเอียดส่วนตัวให้เรียบร้อยก่อนแล้ว
กลับมาใน chamber ที่นักผจญภัยกำลังสัมผัสกับภาวะพร่องออกซิเจนกันต่อ ก่อนหน้าที่จะปลดหน้ากาก นักเรียนทุกคนจะได้รับข้อสอบคนละหนึ่งแผ่น เป็นการให้ผู้ทดสอบใช้สมองคำนวนเลขอะไรทำนองนั้น แต่ก่อนจะปลดหน้ากากครูฝึกก็ให้เขียนชื่อกับรายละเอียดส่วนตัวให้เรียบร้อยก่อนแล้ว
เมื่อปลดหน้ากากออก ทุกคนก็จะนั่งเฉยๆ อยู่นาทีนึงเต็มๆ ก่อนที่จะเริ่มลงมือจรดปลายดินสอเขียนตัวหนังสือ ในหนึ่งนาทีที่ว่านี้รู้สึกว่าหัวค่อยๆ โดนบีบอย่างช้าๆ รู้สึกหนาวๆ ร้อนๆ มึนๆ เวียนหัวอย่างบอกไม่ถูก อาการเริ่มเป็นหนักขึ้นเมื่อเวลายิ่งผ่านไป พอครบหนึ่งนาทีก็ให้เริ่มลงมือทำข้อสอบ ตอนแรกน่ะก็ได้ยินมาว่าให้คิดเลข ผมก็ไม่กลัวหรอกครับ คิดเลขแบบง่ายๆ ชัวร์ๆ แต่...เมื่อเจอเข้าจริงๆ มันกลับยากกว่าที่คาดไว้ เช่น 2.856 x 625.8 จริงๆ ก็ไม่ยากหรอกนะ เพราะว่าทดได้ แต่ขอโทษ เหมือนว่าฟ้าไม่เป็นใจ เหมือนโดนครูฝึกกลั่นแกล้ง เลขมันเป็นคูณแนวตั้งแบบง่ายๆ ก็จริง แต่ว่าเลขมันวางไว้เยื้องกัน แล้วคราวนี้เราจะไปทดยังไงล่ะเนี่ย ทดไม่ถูกเลย ได้แต่เอาปลายดินสอ จิ้ม คาเอาไว้ ในใจก็คิดไปว่า นี่มันเป็น hypoxia ที่สมองขาดออกซิเจนแล้วคิดอะไรไม่ออก หรือว่าเราไม่ชำนาญเรื่องตัวเลขกันแน่
ผ่านไปสามนาที ครูฝึกก็จับหน้ากากมาครอบปากครอบจมูกให้ ผมก็เลยรีบสูดออกซิเจน 100% เข้าไปอย่างฉ่ำปอด หายมึนภายในไม่กี่วินาที และเมื่อจบการทดลอง ก็ปรากฏว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวผมก็คือ มือกระตุก เล็บม่วง ปากม่วง และหน้าซีด ซึ่งเป็นอาการของ hypoxia นั่นเอง
ตอนออกจาก chamber ครูฝึกเขาก็คืนกระดาษข้อสอบให้ ซึ่งผมเขียนไปนิดเดียวเอง น่าสมเพชมาก แล้วก็มาลองนั่งคิดดูว่าที่ทำไม่ได้นี่เป็นเพราะว่าอาการของ hypoxia แน่รึเปล่า แต่สุดท้ายก็สรุปได้ว่า ส่วนหนึ่งมันคงมาจากความไม่ชำนาญทางด้านเลขเป็นการส่วนตัวด้วยล่ะ พอเหอะ ยิ่งพูดยิ่งสมเพชตัวเอง
อีกสิ่งหนึ่งที่เรารู้จากวิชาภาวะร่างกายพร่องออกซิเจนคือ เมื่อร่างกายเราขาดออกซิเจน เวลาของความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองได้ หรือว่าที่ภาษาทางการบินเขาเรียกว่า T.U.C. (Time of Useful Consciousness) จะลดลงตามระดับความสูง ซึ่งสำหรับ 25,000 ฟุตก็คือ 3-5 นาที สำหรับระดับความสูงของการบิน (35,000 ฟุต) จะเหลืออยู่ที่ 30-60 วินาทีเท่านั้น
และนั่นก็เป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเวลาใส่หน้ากากออกซิเจนฉุกเฉินต้องใส่ให้ตัวเองก่อนที่จะไปช่วยคนอื่น เพราะว่ายิ่งเสียเวลากับคนอื่น หรืออย่างอื่นมากเท่าไหร่ เวลาที่จะรักษาชีวิตตัวเองก็จะยิ่งน้อยเท่านั้น ยอมเป็นคนเห็นแก่ตัว ใช้เวลาไม่ถึงสิบวินาทีมาใส่หน้ากากให้ตัวเองก่อนเพื่อจะรักษาชีวิตคนรอบข้างได้อีกหลายชีวิต ไม่ต้องทำตัวเป็นฮีโร่ผู้เสียสละ มิฉะนั้นจะกลายเป็นฮีร่วงผู้เอาชีวิตตัวเองไม่รอด
5 comments:
we are posing the same article!?!?!? ให้ลบไม๊
แต่ชอบนะ เป็นประโยชน?ต่อมวล หมานุษ มาก
แต่เรารู้สึกว่า สูงอย่างอื่น หนาวอย่างอืน เข้าใจเราป่ะ???
u better gimme some comments dude, cos i think my articles are not that bad..are they?
เมื่อไหร่จะ มีเรื่องใหม่ๆ อีกละคะ ละคะ
ดีค่ะ ใช้อธิบายเรื่องความดัน กะ ความสูง กะ เครื่องบินให้เด็กๆขี้สงสัยฟังได้บ้าง แต่..ถามอีกนิดได้มั้ยคะ ความดันจะลดลงจาก 760 mmHg. ทุกๆ ความสูง 11 m จากระดับน้ำทะเลใช่มั้ยคะ..(อ่านมายั่งนี้)แล้วเครื่องบิน บินตั้งหมื่นกว่าฟุตตรงนั้นคงไม่มีไม่ความดันเหลือแล้วล่ะใช่มั้ย งั้นอากาศก็น้อยด้วย แล้วระบบภายในเครื่องบินจะเหมือนกับระบบรถยนต์มั้ยที่ต้องเอาอากาศจากข้างนอกเข้ามาหมุนเวียนกับข้างในน่ะค่ะ...ถ้าไม่แล้วมันเป็นงัยคะ..อ้อ..อีกคำถามเครื่องบินขณะบินอยู๋บนฟากฟ้าเป็นระบบปิด (ใช่มั้ยคะ) แล้ว ฮ. ล่ะ ปิดประตูขณะบินได้หนิ แล้วงี้เรื่องมันดันอากาศล่ะคะ จะเป็นงัย...ขอโทษนะที่ถามยาวมากไป ถ้ามีเวลาช่วยตอบหน่อยนะคะ nartwara.c@gmail.com
ขอบคุณสำหรับคำถามครับ
เรื่องความกดอากาศที่วัดเป็นมิลลิเมตรปรอทนี่ผมไม่แน่ใจนะครับ เพราะเรื่องตัวเลขนี้ เป็นความรู้ที่อยู่ติดตัวผมได้ไม่นาน เพียงเดินสะดุดยอดหญ้าก็อาจจะกระเด็นหลุดออกไปจากสมองได้ เพราะฉะนั้นผมขอติดไว้ก่อนนะครับ
ส่วนเรื่องของเครื่องบินนั้น ปกติแล้วเขาจะบินอยู่ที่ระดับความสูง 35,000 ฟุต เหนือระดับน้ำทะเล ซึ่งแน่นอนครับ ความกดอากาศจะเบาบางมาก เกินกว่าที่มนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตจะใช้ชีวิตอยู่ได้ แต่ภายในห้องโดยสารจะมีการปรับความดันอากาศที่ระดับไว้ที่ความสูงประมาณ 8,000 - 10,000 ฟุต โดยใช้อากาศจากภายนอกผ่านเครื่องอัดอากาศ (Compressor) ในเครื่องยนต์ใต้ปีก แล้วปล่อยเข้าสู่ห้องโดยสาร และค่อยๆ ระบายออกทางด้านท้ายลำ ทำให้มีอากาศให้หายใจ แต่ถ้าเครื่องบินไม่มีระบบความดันอากาศ ก็เป็นไปไม่ได้ครับที่จะมีผู้โดยสาร เพราะสำหรับการบินนั้น ความปลอดภัยต้องมาก่อน
ส่วนเฮลิคอปเตอร์นั้น มีความแตกต่างกับเครื่องบินไอพ่นตรงที่เฮลิคอปเตอร์ไม่ได้บินในระดับความสูงเดียวกับเครื่องบินไอพ่น สังเกตมั้ยครับว่าเฮลิคอปเตอร์บินในระดับที่เราสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนต่างจากเครื่องบินไอพ่นที่เราแทบจะมองไม่เห็น และด้วยระดับความสูงที่ไม่มากนี้ ความกดอากาศในเฮลิคอปเตอร์จึงไม่แตกต่างจากบนพื้นดินเสียเท่าไหร่ และการถ่ายเทอากาศก็สามารถใช้อากาศจากข้างนอกได้เลยโดยไม่ต้องผ่านการอัดอากาศครับ
ขอบคุณนะคะ ที่ช่วยอธิบายให้ฟัง..(อ่าน) พรุ่งนี้จะไปอธิบายให้เด็กขี้สงสัยฟังต่อ และที่สำคัญจะได้อธิบายได้เต็มเสียงหน่อย..หุหุ..ก็ถามมาจากผู้รู้นี่นาใช่มั้ย..ไว้วันหลังจะแอบเข้ามาอ่านอีกนะคะ ขอบคุณค่ะ
Post a Comment